วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

ตำนานโหราศาสตร์

ตำนานโหราศาสตร์

 
          ชาวเมโสโปเตเมียแตกต่างจากชนชาติอื่นก็คือ พวกเขาเริ่มสังเกตการณ์ท้องฟ้าด้วยตาเปล่า เพื่อที่จะหารูปแบบบนฟากฟ้าที่ปรากฏแตกต่างกันออกไป และอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ หลักฐานทางดาราศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักกันในเมโสโปเตเมีย จะอยู่ในยุคของบาบิโลเนียน เราไม่รู้ว่าชาวสุเมเรียนเคยศึกษาดาราศาสตร์มาก่อนหรือไม่ แต่มันก็ดูเหมือนว่าพวกเขาจะเคยศึกษามาจริงๆ 


          เรามีหลักฐานบางอย่างที่อยู่ในยุคสมัยของอัคคาเดียน ประมาณ 2300 ปีก่อนคริสตกาล และนี่ก็เป็นหลักฐานส่วนหนึ่งที่ค้นพบในดินแดนแห่งนั้น ........ถ้าดาวศุกร์ปรากฎขึ้นทางทิศตะวันออก และฝาแฝดคู่ใหญ่กับคู่เล็กมาล้อมรอบตัวเธอ, ทั้งสี่ดวง แล้วหล่อนจะรู้สึกถึงความเศร้าโศก ต่อมา พระราชาของชาว Elam จะล้มป่วยลง และไม่มีทางฟื้นขึ้นมาอีก......... ชาวอีแลม(Elam)เป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในทิศตะวันออกของดินแดนเมโสโปเตเมียในสมัยนั้น แต่ในข้อมูลที่เกี่ยวกับดาวศุกร์ส่วนใหญ่จะอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้า Ammizaduga (พระองค์ปกครองต่อจากพระเจ้าฮัมมูราบี) ซึ่งจะประกอบไปด้วยการสังเกตลักษณะของดาวศุกร์ ผนวกเข้ากับคำทำนายที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญๆในอดีต ชาวเมโสโปเตเมียได้บันทึกลักษณะของดาวศุกร์แบบไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของดาว พวกเขาเชื่อว่าดาวฤกษ์กับดาวเคราะห์มีความสัมพันธ์ต่อกัน อย่างในข้อเท็จจริงที่ว่า ดาวเหล่านี้คือพระเจ้า เทพเจ้าวีนัสเป็นหนึ่งในเทพที่มีความสำคัญต่อชาวเมโสโปเตเมียเป็นอย่างมาก ในขณะที่ชาวโบราณคนอื่นๆก็มีความคิดที่คล้ายๆกันด้วย ชาวอียิปต์ต่างก็รู้จักกลุ่มดาว Orion กับ Osiris เป็นอย่างดี แต่ Osiris เป็นเทพเจ้าแห่งความตายที่ปกครองอยู่ใต้โลก ดูเหมือนว่าชาวเมโสโปเตเมียจะมีความเชื่อว่าดวงดาวและดาวเคราะห์ต่างๆนั้นเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์ในตอนนี้ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น กว่าหลายศตวรรษมาแล้วที่ชาวบาบิโลเนียนได้สังเกตการณ์และบันทึกปรากฏการณ์ต่างๆของดาว โดยเฉพาะการโคจรที่กลับมาสู่ที่เดิมอีกครั้งหนึ่งของดาวเคราะห์ต่างๆ พวกเขายังสามารถกะประมาณตำแหน่งของดวงดาวที่จะโคจรต่อไปได้ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ


          จากบันทึกของปโตเลมี(Ptolemy) ก็เคยกล่าวถึงตำแหน่งและการโคจรของดวงดาวไว้เช่นกัน ซึ่งบันทึกฉบับนี้ถูกเก็บรักษามาตั้งแต่ 747 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงยุคของกรีก ภายหลังที่พระเจ้าอเล๊กซานเดอร์มหาราชเข้ามาครอบครองดินแดนเมโสโปเตเมียแล้ว เป็นคำถามที่น่าสนใจที่มีข้อถกเถียงว่า จักรราศีชนิดใดที่ชาวเมโสโปเตเมียใช้ในการทำนาย ซึ่งจากหลักฐานในยุคแรกๆจะเห็นว่า พวกเขาบันทึกตำแหน่งของดาวเคราะห์จากระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์ที่เราสนใจกับตำแหน่งของดาวฤกษ์ 19 องศาจากพระจันทร์จนถึงกลุ่มดาวลูกไก่, 17 องศาจากกลุ่มดาวลูกไก่จนถึงกลุ่มดาวคันไถ(Orion), 14 องศาจากกลุ่มดาวคันไถจนถึงกลุ่มดาวซิริอุส(Sirius) นี่เป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการสังเกตดาวฤกษ์ ที่ไม่มีจักรราศีเข้ามาเกี่ยวข้องเลย ตำแหน่งของวงกลมที่ได้รับการแบ่งออกเป็นส่วนๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จักรราศีจะมีการระบุตำแหน่งที่คงตัว อย่างที่สัญลักษณ์ 12 แบบที่นำมาบรรจุลงใน 12 ราศี และหมู่ดาวฤกษ์ทั้ง 27 หมู่ของระบบจักรราศีแบบฮินดู แต่การสังเกตการณ์ทั้งหมดนี้จะเหมือนกับแบบที่ใช้ดาวในการระบุตำแหน่งของมัน พัฒนาการของโหราศาสตร์จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ ในช่วงแรกจะประกอบไปด้วยเหตุการณ์สำคัญที่อ้างอิงถึงประวัติศาสตร์ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ในช่วงที่สองจะมีจักรราศีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างสัญลักษณ์ที่มีช่อง 30 องศาอยู่ 12 ช่อง แต่กลับไม่ปรากฏหลักฐานการพยากรณ์ในช่วงนี้เลย แต่สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือการโคจรที่ผ่านราศีละประมาณ 1 ปีของดาวพฤหัส และนี่ก็เป็นสิ่งที่ตกทอดมาจากชาวจีน ที่ว่าชาวจีนได้มีการกำหนดปีในแต่ละปีเป็นปีนักษัตรต่างๆทั้ง 12 นักษัตร แล้วนำมาใช้พยากรณ์เหตุการณ์ประจำปีได้ แต่มันก็ยังไม่มีหลักการที่แน่นอนอยู่ดี


          โหราศาสตร์ภาคพยากรณ์ ซึ่งแหล่งอารยธรรมโบราณหลายๆแห่งมักจะอ้างถึงชาวคาลเดียน ซึ่งเป็นผู้ที่คอยผูกดวงให้กับบุคคลต่างๆ เช่น Diogenes Laertius นักปราชญ์ชาวกรีก ซึ่งอริสโตเติลได้บอกกับเขาว่า ชาวคาลเดียนได้พยากรณ์ความตายของโสเครตีส(Socrates)จากพื้นดวงของเขา โดยที่เขาจะตายเนื่องจากถูกคณะลูกขุนตัดสินลงโทษให้ประหารชีวิตด้วยการดื่มยาพิษ และต่อมาก็เป็นไปตามคำพยากรณ์ของชาวคาลเดียนทุกประการ หลักฐานที่ได้ค้นพบในดินแดนเมโสโปเตเมียนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในยุคของกรีก(Hellenistic) แต่แผ่นจารึกที่เก่าแก่ที่สุด จะอยู่ในช่วงวันที่ 29 เมษายน ปีที่ 410 ก่อนคริสตกาล และข้อความข้างล่างนี้เป็นข้อความที่แปลมาจากภาษากรีก 1. Month(?) Nisan(?) night(?) of(?) the(?) 14th(?) 2. Son of Shuma-usur, son of Shumaiddina, descendant of Deke was born 3. At that time the Moon was below the “Horn” of the Scorpion 4. Jupiter in Pisces, Venus 5. In Taurus, Saturn in Cancer 6. Mars in Gemini, Mercury which had set (for the last time) was (still) in (visible) 7. etc., etc…. จะเห็นว่าคำแปลบางคำ เรายังไม่แน่ใจว่ามันถูกต้องหรือเปล่า และมันยังไม่มีความละเอียดมากพอ แผ่นจารึกอื่นๆก็มักจะมีข้อความสั้นๆแบบนี้เช่นกัน แม้ว่าตำแหน่งของดาวที่ให้มาจะมีความแม่นยำสูงมากก็ตาม เราเห็นแล้วว่า ประวัติศาสตร์ไม่ยอมเปิดเผยพัฒนาการของโหราศาสตร์ให้เห็นกันชัดๆ เมื่อผ่านยุคบาบิโลเนียนมาแล้ว แต่มันก็มีหลักฐานที่พอจะพิจารณาได้ ในสถานที่ที่เป็นต้นกำเนิดของโหราศาสตร์ในช่วงต้นๆ หลักฐานดังกล่าวได้บ่งบอกว่า สถานที่ที่ให้กำเนิดโหราศาสตร์นั้นมันอยู่ที่อียิปต์


          โหราศาสตร์การพยากรณ์ในยุคแรกๆจะมาจากรัชสมัยของพระเจ้าฟาโรห์ อียิปต์ให้กำเนิดโหราศาสตร์ภาคพยากรณ์ และพวกเขายังมีความคิดที่คล้ายๆกับชาวบาบิโลนอีกด้วย ชาวอียิปต์ในสมัยพระเจ้าฟาโรห์นั้นมีความสนใจดาราศาสตร์เป็นอย่างมาก นี่ก็เป็นหลักฐานหนึ่งที่สามารถบอกอะไรได้อีกหลายๆอย่าง แต่มันเป็นดาราศาสตร์ในระบบที่นำเอาดาวฤกษ์มาใช้ในการพยากรณ์มากกว่าดาวเคราะห์ซะอีก ชาวอียิปต์มีความเชี่ยวชาญในการจัดวางสิ่งก่อสร้างเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นนครวัด ปิรามิด และสิ่งก่อสร้างทุกๆอย่างจะมีความสัมพันธ์กับดวงดาวบนฟากฟ้าทั้งหมด ความสามารถในการสำรวจและจัดวางสิ่งก่อสร้างให้มีตำแหน่งตรงกับดาวนั้น นับว่ามีความแม่นยำจนน่าทึ่งทีเดียว แต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะไม่มีทฤษฎีทางดวงดาวหรือหลักการคำนวณอะไรเลย ชาวเมโสโปเตเมียได้รับทฤษฎีระบบเลขฐานหกสิบมาจากชาวสุเมเรียน และมีการคำนวณที่ดูยุ่งยากซับซ้อนกว่าคนโบราณในชาติอื่นๆโดยสิ้นเชิง ชาวบาบิโลนมีความรู้ในเรื่องการนับเลข การบวกเลข และประดิษฐ์สิ่งต่างๆสำหรับนำมาใช้ในการคำนวณ เช่น ตารางสูตรคูณ และการใช้เลขฐานสิบ พวกเขาเป็นประชากรรุ่นแรกๆของโลกที่รู้ว่าดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์อีกห้าดวงมีความแตกต่างไปจากดวงดาวอื่นๆ และยังสังเกตเห็นว่าดวงจันทร์มีขนาดใหญ่ขึ้นและเล็กลงในทุกๆเดือน และใช้ช่วงเวลานี้บ่งบอกเวลาในแต่ละวัน โดยกำหนดให้หนึ่งเดือนมี 28 วัน คือ มีสี่สัปดาห์ๆละ 7 วัน โดยตั้งชื่อวันตามชื่อพระอาทิตย์ พระจันทร์ และชื่อดาวเคราะห์อีกห้าดวง แต่ชาวอียิปต์กลับไม่ใช้การคำนวณกับตำแหน่งของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเลย เพราะพวกเขามีความเชื่อว่า สิ่งก่อสร้างนั้นต้องมีความสัมพันธ์กับดาวฤกษ์บนฟากฟ้า จุดที่น่าสังเกตของการผนวกความคิดระหว่างดาราศาสตร์ของชาวอียิปต์กับดาราศาสตร์ของชาวบาบิโลน คือ ในตอนที่เปอร์เซียครอบครองอียิปต์ และพระเจ้าอเล๊กซานเดอร์ก็มาครอบครองอียิปต์และเปอร์เซียอีกที และนี่ก็เป็นตอนที่อียิปต์อยู่ภายใต้การปกครองอย่างเดียวกันกับชาวบาบิโลน ชาวเปอร์เซียเองก็เคยอุทิศตนให้กับวิชาโหราศาสตร์ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับโหราศาสตร์ของอียิปต์เลย หลักฐานที่มีความเกี่ยวข้องกับอียิปต์ทั้งหมด ดูเหมือนว่าจะเขียนเป็นภาษากรีก มีความเป็นไปได้ว่า มีข้อความอยู่บางส่วนที่แปลมาจากภาษาอียิปต์โบราณ(Coptic) ซึ่งนับว่ามีประโยชน์ต่อชาวกรีกมาก แม้ว่าจักรพรรดิ์เปอร์เซียเป็นจักรพรรดิ์ที่ประกอบไปด้วยหลายเชื้อชาติ และเข้ากันได้กับคนเชื้อชาติอื่นๆ แต่ก็ไม่มีชนชาติไหนที่สามารถเทียบเคียงกับชนชาติเปอร์เซียได้เลย


          ชาวเปอร์เซียได้ใช้โหราศาสตร์เพื่องานราชการเป็นส่วนใหญ่ แต่ชาวบาบิโลนกับชาวอียิปต์ใช้โหราศาสตร์ตามความคิดของเขาเอง และมีอยู่บางส่วนที่คล้ายคลึงกับโหราศาสตร์ของเปอร์เซียด้วย แต่เมื่อพระเจ้าอเล๊กซานเดอร์เข้ามาครอบครองพื้นที่ของเปอร์เซียและอียิปต์ทั้งหมด จึงทำให้วัฒนธรรมของพวกเขาเปลี่ยนไป ภายหลัง 126 ปีก่อนคริสตกาล ชาวปาร์เธียน(Parthians)ได้ลุกขึ้นมาต่อต้านพระเจ้า Seleucids และพวกเขายังกลับมายึดอาณาจักรเปอร์เซียคืนได้ ยกเว้นพื้นที่ที่อยู่ใกล้ๆกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ชาวปาร์เธียนเป็นปรปักษ์ต่อชาวกรีกอย่างรุนแรง(ต่อมาก็เป็นศัตรูกับโรมันอีก) และตัดการสื่อสารระหว่างส่วนกลางของชาวกรีก(Hellenistic)ทางตะวันตกกับชาวบัคเตรียนกรีกที่อยู่ในอัฟกานิสถานกับปากีสถานที่ยังมีอำนาจหลงเหลืออยู่


          จนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษแรกหลังคริสตกาล ชาวบัคเตรียนกรีกเริ่มมีความเชื่อที่เกี่ยวกับฮินดู และภาษาของพวกเขาก็เริ่มเลือนหายไป อย่างไรก็ตาม เมื่อปี ค.ศ. 200 พวกเขาก็ยังอยู่อาศัยอย่างกลุ่มชนชั้นที่เป็นพวกพราหมณ์(Yavanas) ต่อมานักประวัติศาสตร์ได้ระบุช่วงเวลาของฮินดูในทศวรรษที่ 4 กับ 5 ว่าเป็นช่วงเวลาของการบวงสรวงพระอาทิตย์ ต่อมาคริสต์ศาสนาจากทิศตะวันตกก็เข้ามาแทนที่การบวงสรวงพระเจ้า Sol Invictus ซึ่งเป็นพระสุริยะที่ไม่เคยพ่ายแพ้แก่ใคร มันเป็นการบ่งบอกว่า โหราศาสตร์แบบฮินดูได้รับอิทธิพลใหม่ๆจากพวกพราหมณ์ที่พยายามหลีกหนีจากการกลั่นแกล้งของชาวคริสเตียนทางตะวันตก ยังมีข้อสรุปของการแบ่งแยกชาวปาร์เธียนอีกข้อหนึ่ง ชาวเปอร์เซียเป็นนักโหราศาสตร์ที่มีความศรัทธาอย่างแรงกล้าตลอดเวลา มีความเป็นไปได้ว่า พวกเขามีความจำเป็นต้องพัฒนาวัฒนธรรมของตนเองจากโหราศาสตร์ที่พวกเขาได้รับมรดกตกทอดมาจากชาวเมโสโปเตเมียกับกรีก ต่อมาใน ค.ศ. 227 พวกเขาถูกล้มล้างโดยพระเจ้า Sassanid ซึ่งเป็นผู้ที่กอบกู้และพัฒนาวิชาโหราศาสตร์ตามแขนงของเปอร์เซียนขึ้นมาใหม่ โชคไม่ดีเลยที่ชาวอาหรับเข้ามายึดครองพื้นที่แห่งนี้ไปได้ ทำให้หลักฐานทางโหราศาสตร์ในสมัยพระเจ้า Sassanid ถูกทำลายไปจนหมดสิ้น


          วิชาโหราศาสตร์ภารตะ ไม่ว่าจะเป็น Vedic หรือ Karma Astrology แบบทุกวันนี้ ในกาลสมัยก่อนที่จะได้มีชื่อประเทศอินเดียเกิดขึ้นนั้น ดินแดนดังกล่าวเป็นของพวกชนถิ่นพื้นเมือง พวกทมิฬและพวกทราวิเดียน ซึ่งนับถือบูชาเทพพวกกึ่งสัตว์ เช่น ช้าง ยักษ์ งู ฯ ต่อมาประมาณ ๕,๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาล (เป็นอย่างน้อย) างพวกชนชาติอารยันจากเอเชียกลางก็ได้บุกรุกเข้าไปครอบครองดินแดนทางเหนือของแม่น้ำสินธุในแคว้นปัญจาบ พร้อมทั้งได้นำเอาเทพเจ้าของตนเข้าไปปกครอง โดยให้บูชาเทวะ “พระอินทร์” และได้เรียกนามประเทศขึ้นเป็น “ประเทศอินเดีย” ในกฤตยุค สมัยราชวงศ์ปุรุราชหรือมหาสมมุติราช ลำดับกษัตริย์องค์ที่ ๒๑ คือ พระเจ้าภรตราช โอรสท้าวทศยันต์และมีมเหสีนาม ศกุนตลา บุตรีของมหาฤาษีวิศวามิตรกับนางอัปสร นั้น ทางมหาฤาษี กัณณวะ ได้รวบรวม “ศรุติ” ขึ้นมาเป็นคัมภีร์ ฤคเวท ใช้เป็นคู่มือของพวกพราหมณ์นิกายโหรดา ในสมัยของไตรดายุคต่อมานี้ ได้เริ่มมีการทำพลีกรรมมากขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงด้านตำแหน่งและสิทธิอำนาจของกลุ่ม “เทวะ” เดิม จากกลุ่มพระอินทร์และปรพรหม มาเป็น องค์พรหมธาดา แล้วเปลี่ยนเทพ “รุทระ”อันเป็นเทพแห่งพายุเดิม มาเป็น องค์ศิวะเทพแห่งขุนเขาไกรลาส และ องค์วิษณุแห่งทะเลเกษียรสมุทร จึงได้เกิด คัมภีร์ “โสมเวท” อันเป็นคู่มือสวดของพวกพราหมณ์นิกายอุททาคา และคัมภีร์ “ยัชุรเวท” อันเป็นคู่มือทำพลีกรรมของพวกพราหมณ์นิกายอัธวรรยุ จึงเรียกว่า คัมภีร์ไตรเพท และศาสนาพราหมณ์ขึ้น


          ในระยะต่อมา ได้มี อถรรพพราหมณ์ ได้รวบรวม“ศรุติ”อันเป็นมนต์เสกเป่า ๒ ประเภท คือ มนต์ดำสำหรับแก้เสนียด ให้เปลี่ยนเป็นสวัสดิมงคล ประการหนึ่ง และ มนต์สำหรับนำความชั่วร้ายและภัยพิบัติไปให้ศัตรู อีกประการหนึ่ง คัมภีร์นี้เรียกว่า “อถรรพเวท” กล่าวมาถึงตอนนี้ หลายท่านคงจะเริ่มเบื่อว่ามาอธิบายถึงเรื่องลัทธิพราหมณ์ทำไม? ตอนนี้ ขอให้ลองย้อนกลับไปอ่านนิทานชาติเวร เรื่องแรกของโหราศาสตร์ไทยดูนะ ที่ว่า พระอาทิตย์ (๑) เกิดเป็นพญาครุฑอยู่เขาสัตตปริพันธ์ พระพฤหัสบดี (๕) เกิดเป็นพระอินทร์อยู่เขาพระสุเมรุ พระเสาร์ (๗) เกิดเป็นพญานาคอยู่ในมหาสมุทร และ พระอังคาร (๓) เกิดเป็นพญาราชสีห์อยู่ป่าหิมพานต์ ได้ร่วมกันที่จะสร้างสระน้ำไว้ให้เป็นที่อาศัยแก่มนุษย์และเทวดา โดยมีพระราหู (๘) เป็นตัวร้าย นั้น จากนิทานชาติเวรเรื่องนี้ ส่อเค้าว่า น่าจะเป็นเรื่องที่เก่าที่สุดที่มาจากอารยธรรมของพวกอารยันในยุคแรกเริ่มของประเทศอินเดียก่อนมีศาสนาพราหมณ์ ที่บูชา พระอินทร์เป็น มหาเทพ นี่แหละครับ ร่องรอยประวัติโหราศาสตร์ไทย ขอพูดต่ออีกนิดนึงนะ ในยุคต่อมา ทางพวกพราหมณ์ได้เรียบเรียงคัมภีร์ไตรเพท โดยจัดทำอรรถขึ้นมาเป็น“สูตร”แบ่งออกเป็น ๖ เวทางค์ (องค์แห่งเวท) หนึ่งในเวทางค์นั้นคือ “วิชาโชยติษะ” หรือ วิชาโหราศาสตร์ นั่นเอง ซึ่งคัมภีร์วิชาโชยติษะอันเป็นโหราศาสตร์อินเดียที่ได้ตกทอดมายังประเทศไทยที่ยังหลงเหลืออยู่นี้ประมาณ ๒๐ เล่ม เช่น คัมภีร์สูรยสิทธานตะและคัมภีร์พฤหัตสังหิตาของ วราหมิหิร มหาบัณฑิต, คัมภีร์ศุกรนีติสาระ(คัมภีร์พิชัยสงครามของพระศุกรมหาฤาษี),คัมภีร์ภฤคุปรัศนัม (ตำราศุภฤกษ์ศุภยามของพระภฤคุ มหาฤาษี) ฯลฯ

 

          วิชาโหราศาสตร์ของพวกพราหมณ์นี้ ยังได้มีหลักฐานปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก ในบทว่าด้วยมหาศีล ซึ่งได้เคยเขียนรายละเอียดไว้ในนิตยสารโหราเวสม์เอาไว้แล้ว วิชาโหราศาสตร์โบราณทั้งจากสมัยกลุ่มอารยัน, กลุ่มศาสนาพราหมณ์ และ บางส่วนที่แฝงอยู่ในกลุ่มพระภิกษุผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา คงได้ตกทอดเข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิมาเป็นระยะๆ ไม่น้อยกว่า ๔-๕ ครั้ง จนกระทั่ง พุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา วิชาโหราศาสตร์ดังกล่าวก็ได้ถูกพัฒนาต่อยอดให้กลายเป็นหลักวิชาที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง โดยไม่ได้ดำเนินตามรอยของพวกพราหมณ์อินเดียอย่างเคร่งครัดอีกต่อไป ร่องรอยวิชาโหราศาสตร์ไทยนอกจากเรื่องนิทานชาติเวรเรื่องแรกแล้ว อาจจะศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราอื่นๆ ทางพระพุทธศาสนา อาทิเช่น นิทานปัญญาสชาดกของเมืองเหนือ เป็นต้น และจากเอกสารประวัติศาสตร์โบราณคดี


               ประวัติศาสตร์คลาสสิคของโหราศาสตร์ภารตะ          โหราศาสตร์ภารตะมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และกล่าวได้ว่าเป็นรากฐานของ โหราศาสตร์หลากหลายแขนงรวมถึงโหราศาสตร์ไทยแต่ถึงกระนั้นไม่มีใครทราบได้แน่ชัดว่าโหราศาสตร์ภารตะถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้คิดค้นขึ้นเป็นคนแรก ตามตำนานของชาวฮินดู พระศิวะเป็นผู้สอนวิชาโหราศาตร์ให้แก่พระชายาของพระองค์คือ พระนางปารวตี และพระนางก็ถ่ายทอดต่อแก่พระโอรส คือพระพิฆเนศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเทพแห่งวิชาโหราศาสตร์


          อีกตำนานหนึ่ง กล่าวว่า พระพรหม เป็นผู้ถ่ายทอดวิชานี้ ให้แก่พระโอรสคือพระสุริยเทพ ซึ่งได้ถ่ายทอดต่อให้แก่บรรดาฤาษีต่างๆ ยังมีอีกตำนานที่ระบุว่า พระพรหม ได้สอนวิชานี้แก่พระโอรสอีกองค์หนึ่งคือ พระนราธ ซึ่งท่านได้ถ่านทอดต่อให้แก่ศิษย์คือปราชญ์สวนาคะซึ่งได้สอนวิชานี้แก่ลูกศิษย์ต่อมาก็คือ มหาฤาษีปะระสาระ ผู้ยิ่งใหญ่แห่งโหราศาสตร์

          ในยุคอินเดียโบราณมีคัมภีร์ในศาสตร์ด้านต่างๆ ไม่น้อยที่ถูกอ้างว่ารจนาโดยพระศิวะ พระสุริยะ และพระจันทรา
พระนราธ ปราชญ์สวนาคะ มหาฤาษีวสิษฐะ เป็นรายชื่อที่ได้รับการระบุว่าเป็นผู้รจนาคัมภีร์โหราศาสตร์เป็นกลุ่มแรกๆ ในชมภูทวีปแต่คัมภีร์เหล่านั้นเขียนเป็นลักษณะคัมภีร์คำสวดทางศาสนาซึ่งค่อนข้างสั้น ไม่มีคำอรรถาธิบายใดๆ และไม่มีใครรู้ว่าเขียนมาตั้งแต่เมื่อใด แต่หลักวิชาทางโหราศาสตร์ภารตะที่มีการรวบรวมและถ่ายทอดอย่างเป็นระบบครั้งแรกถือกำเนืดขึ้นราว 3200 ปี ก่อนคริสตกาลตามการคำนวนของปราชญ์อินเดียซึ่งเป็นยุคก่อนยุคมหาภารตะเล็กน้อย


          ผลงานอันเอกอุชิ้นแรกที่เกิดขึ้นเป็นอนุสาวรีย์แห่งโหราศาสตร์ภารตะ ได้แก่ พฤหัส ปะระสาระ (Brihat Parashara Hora Sastra) โดย มหาฤาษีปะระสาระ ตามตำนานมหาฤาษีปะระสาระ เป็นหลานของมหาฤาษีวสิษฐะ และมหาฤาษีปะระสาระนี้เองต่อมาเป็นบิดาของปราชญ์ในตำนานอันยิ่งใหญ่ของภารตะ คือมหาฤาษีเวธะ วยาสะ ผู้รจนา 18 ปุราณะคัมภีร์ อันเป็นคัมภีร์ทางศาสนาอันสำคัญยิ่งของฮินดู รวมถึงงานเขียนอันเป็นรากฐานของศาสนาฮินดูได้แก่ มหาภารตะ ภควคีตา พรหมสูตร และอุตรมิมางศะ
 
 
          ความลึกซึ้งขององค์ความรู้ทางโหราศาสตร์ของมหาฤาษีปะระสาระ นั้นว่ากันว่าสุดหยั่งคาด ตำนานเล่าว่าคืนหนึ่งขณะที่ท่านลงเรือข้ามแม่น้ำ ท่านสังเกตุเห็นดาวบนท้องฟ้าดวงหนึ่งขึ้นเปล่งประกายสว่างไสว และเป็นดาวที่ให้คุณพิเศษในดวงชะตามนุษย์ ท่านหยั่งรู้ได้ทันที่ว่าเด็กที่เกิดในช่วงเวลาที่ดาวนี่เปล่งประกายจะเป็นผู้รู้ศาสตร์วิชาอันยิ่งใหญ่ ท่านจึงเล่าให้หญิงคนหนึ่งที่นั่งมาในเรือฟังและขอหญิงคนนั้นแต่งงานซึ่งหญิงนั้นยอมและทั้งสองได้ถือกำเนิดบุตรในคืนนั้นซึ่งก็คือ มหาฤาษีเวธะ วยาสะ นั่นเอง 

          อีกตำนานหนึ่ง กล่าวว่า มหาฤาษีปะระสาระเห็นดาวที่ให้คุณวิเศษขึ้นบนท้องฟ้า ก็กล่าวกับผู้ใกล้ชิดว่าจะมีผู้มีบุญญาธิการเป็นถึงศาสดาถือกำเนิดขึ้น ซึ่งพระเยซูก็ถือกำเนิดขึ้นในคืนนั้นเอง (ตำนานนี้ไม่น่าเชื่อถือ เมื่อพิจารณาจากช่วงเวลา-sonus) คัมภีร์พฤหัสปะระสาระ โหราศาสตร์ เป็นคัมภีร์ที่รจนาในรูปแบบปุจฉา-วิสัชนา โดยมาปราชญ์ไมตรียะ เป็นผู้ถามและมหาฤาษี ปะระสาระ เป็นผู้ตอบ ซึ่งเขียนเป็นโศลกสั้นๆ อธิบายหลักการของโหราศาสตร์ภารตะ ที่แม้เวลาผ่านไป 5000 ปี ก็ยังคงเป็นรากฐานอันทรงคุณค่าของวิชาโหราศาสตร์ในปัจจุบัน


          ตำนานอันยิ่งใหญ่ยุคต่อมาของของโหราศาสตร์ภารตะถือกำเนิดขึ้นในอีก 2 ชั่วอายุคนต่อมา ไชยมินิสูตร (Jaimini Sutra) โดยท่านมหาฤาษีไชยมินิ ผู้เป็นศิษย์ของมหาฤาษีเวธะ วยาสะ แม้นักโหราศาสตร์จะมีมติว่าระบบโหราศาสตร์ของท่านมหาฤาษีไชยมินิ ค่อนข้างจะแตกต่างจากระบบของมหาฤาษีปะระสาระ แต่ผู้รู้ส่วนหนึ่งก็ลงความเห็นว่า ในความเป็นจริงสิ่งที่ท่านมหาฤาษีไชยมินิรจนาไว้จำนวนมากกล่าวไว้โดยมหาฤาษีปะระสาระไว้ในพฤหัสปะระสาระ โหราศาสตรา แต่เป็นโศลกสั้นๆ ที่ไม่มีรายละเอียด และมหาฤาษีไชยมินิได้ขยายความโศลกเหล่านั้นอย่างสมบูรณ์กลายเป็นโหราศาสตร์ระบบไชยมินิ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือเรื่อง การกะของเรือนและดาว ซึ่งเดิมมหาฤาษีไชยมินิกำหนดไว้ 7 การกะ แต่ในโหราศาสตร์ยุคต่อมาเพิ่มเป็น 8 การกะ
          หลังจากยุคของท่านมหาฤาษีไชยมินิ ก็เกิดช่องว่างแห่งพัฒนาการของโหราศาสตร์ภารตะ อย่างน้อยก็ในการรับรู้ของคนในยุคปัจจุบันหลังจากยุคมหาฤาษีไชยมินิ กว่าจะมีผลงานอันเอกอุของโหราศาสตร์ภารตะกำเนิดขึ้นอีกก็ถึงปี 5th century AD (ถ้าจำไม่ผิดน่าจะหมายถึงศตวรรษที่ 5 หลังคริสตกาล ถ้าผิดพลาดขออภัย) ผลงานชิ้นโบว์แดงที่ถือกำเนิดขึ้นคือ คัมภีร์พฤหัสชาฎก (Brihat Jataka)


          โดยมหาฤาษีวราหมิหิรา ซึ่งเป็นโหราจารย์ผู้มีชื่อเสียงในราชสำนักของวิกรมดิษยะมหาราชา มหาฤาษีวราหมิหิรา ยังเป็นนักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ยุคโบราณผู้เกรียงไกรซึ่งได้กล่าวถึงเรื่องของ “อยนางศะ” ซึ่งระบุว่ามีค่าเท่ากับ 50.32 ลิบดาเป็นครั้งแรกในผลงานของท่านหลักโหราศาสตร์ของมหาฤาษีวราหมิหรา หรือพฤหัสชาฎก เป็นรากฐานอันสำคัญของโหราศาตร์ภารตะในยุคปัจจุบัน และยังได้ต่อยอดไปยังโหราศาตร์สาขาอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียรวมถึงโหราศาสตร์ไทย นอกจากนี้ บุตรชายของมหาฤาษีวราหมิหิรา คือท่าน ปริธุ ยสาสะ ยังได้รจนาผลงาน ชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของโหราศาสตร์คือ โหราสาระ (Horasara) ซึ่งบางส่วนเป็นการขยายความและอธิบายรายละเอียดในพฤหัสชาฎก ที่บิดาของท่านรจนาไว้เป็นโศลกสั้นๆ
        ผลงานทางโหราศาสตร์ชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งในยุคต่อมาคือ อุตรกาลมะฤต (Uttarakalamitra) ของปราชญ์กาลิทาส ซึ่งอยู่ในยุคราชวงค์ วิกรมดิษยะ อุตรกาลมฤต ได้อธิบายเคล็ดทางโหราศาสตร์เฉพาะอันหลากหลายพร้อมทั้ง มีการยกตัวอย่างดวงชะตามาอธิบายความ (มีฉบับแปลเป็นไทย อ.รัตน์ และ ศิระ นามะสนธิ หาได้ที่หอสมุดแห่งชาติ-sonus)



          ต่อมาในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เข้าครอบครองอินเดีย วิชาโหราศาสตร์ภารตะก็ได้รับอิทธิพลของโหราศาสตร์ตะวันตกเข้ามาเป็นส่วนผสม โดยปราชญ์ยวเณศวร ซึ่งเป็นโหราจารย์ในสำนักของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้รจนาคัมภีร์ ยวณชาฎก (Yavana Jataka) และจากจุดนี้เองที่ทำให้นักโหราศาสตร์ตะวันตกบางส่วนอ้างว่า โหราศาสตร์ภารตะหรือโหราศาสตร์ฮินดูนั้น ตกทอดมาจากโหราศาสตร์กรีก หลังจากนั้น ก็มีงานเขียนทางโหราศาสตร์ชิ้นสำคัญออกมาอีกเป็นจำนวนมาก ผลงานที่เรียกได้ว่าเป็นอนุสรณ์แห่งโหราศาสตร์ภารตะเช่น สราวลี (Saravali) โดย กัลยาณวรามะ ในช่วง 10th century AD และในช่วงนี้เอง ที่ท่านภัทโทปาล (AD 966) แห่งแคว้นแคชเมียร์ ได้รจนาผลงานชิ้นสำคัญ คือคำวิจารณ์ พฤหัสชาฎก และ พฤหัสสังหิตา ของมหาฤาษีวราหมิหิรา (พฤหัสชาฎกภาคคำวิจารณ์ท่านภัทโทปาลแปลเป็นไทยโดย อ.ศิระ และ รัตน์ นามะสนธิ หาได้ที่หอสมุดแห่งชาติ แต่มีไม่
ครบทุกบท-sonus)


        ต่อมายังมีผลงานทางโหราศาตร์โดยปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของภารตะออกมาอีกจำนวนมาก ในจำนวนนี้ มหูรตะจินดามณี (Muhurta Chintamani) โดย ราม ไทวกยะ เป็นผลงานชิ้นเอกที่ว่าด้วยเรื่องฤกษ์ยามของโหราศาสตร์ภารตะ ซึ่งได้ทำให้การรวมรวมหลักวิชาทางโหราศาสตร์ภารตะมีความครบถ้วนทั้งภาค ฟ้า (ฤกษ์ยาม) และภาคคน (ดวงชะตา) ผลงานชิ้นสำคัญดังกล่าวข้างต้น ล้วนแต่มีรากฐานจากระบบปะระสาระและวราหมิหิราเป็นส่วนใหญ่ แต่โหราศาสตร์ภารตะยังแตกแขนงไปอย่างหลากหลายตามแต่ละภูมิภาค โหราศาสตร์ประเภทหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมทางอินเดียใต้ ซึ่งมีรากฐานจากคัมภีร์รจนาโดยมหาฤาษีภิกขุ เรียกว่า นาดี ชโยติสย (Nadi Jyotish) นอกจากนี้โหราศาสตร์อินเดียในปัจจุบันยังพัฒนาโดยการผสมผสานหลักโหราศาสตร์จากเปอร์เชีย หรืออาหรับเข้ามาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการทำนายอย่างทะมัดทะแมงขึ้นเช่นเรื่องการใช้้้โค้งสุริยาตร์คำนวนดาวอายุจรหรือหลักโหราศาสตร์ที่เรียกว่า Solar Return เป็นต้น ซึ่งหลังจากนั้นโหราศาสตร์ภารตะก็ได้รับการพัฒนาและทำการพิสูจน์ในแง่มุมต่างๆ
อย่างหลากหลายและต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน